ยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) เป็นมาอย่างไร?

ยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) เป็นมาอย่างไร?
ยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) ถูกค้นพบตั้งแต่ปี 1975 เพื่อเป็นยาฆ่าพยาธิ (anti-parasite) และถูกใช้ในการรักษาโรคพยาธิทั้งในมนุษย์และในสัตว์ โดยการใช้ในมนุษย์จะใช้เป็นยาเป็นยาฆ่าพยาธิ รักษาโรคที่มีสาเหตุจากพยาธิตัวกลม เช่น โรคพยาธิไส้เดือน โรคพยาธิตัวจี๊ด และโรคจากปรสิตบางชนิด เช่น โรคหิด หรืออาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
นอกจากนั้น ยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) มีประวัติการศึกษาถึงประสิทธิภาพการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ มากว่า 50 ปีแล้ว เช่น โรคไข้เลือดออกเดงกี่ โรคไข้ซิก้า โรคชิกุนคุนย่า จะเห็นได้ว่ายาฆ่าพยาธิดังกล่าว เป็นยาที่ใช้มาเนิ่นนาน โดยพบว่ามีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพกับกลุ่มพยาธิ รวมถึงเชื้อไวรัสได้หลายชนิด
จากประสิทธิภาพของยาฆ่าพยาธินี้ทำให้ผู้คิดค้นและผู้ที่นำไปใช้ต่อสู้กับโรคพยาธิฟิลาเรีย William C Campbell และ Satoshi Omura ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา และ อายุรศาสตร์ ในปี 2015 และถูกจัดเป็นยาสำคัญขององค์การอนามัยโลก (WHO, World Health Organization)
ทั้งนี้เมื่อ เมษายน 2020 ได้มีการนำยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) มาศึกษาวิจัยเพื่อใช้ในการรักษาโควิด-19 อันเกิดจากเชื้อไวรัส severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) คณะผู้วิจัยได้ตีพิมพ์ประสิทธิภาพของยานี้ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในหลอดทดลองโดยใช้ความเข้มข้นของยาเล็กน้อย ซึ่งพบว่า ยาไอเวอร์เม็กติน(Ivermectin) นั้นสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ SARS-CoV-2 ในเซลล์เพาะเลี้ยงได้
กลไกการออกฤทธิ์ของยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส จากข้อมูลการศึกษาภายในหลอดทดลอง (in vitro) ชี้ให้เห็นว่า ยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) ออกฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวน SARS-CoV-2 ผ่านการจับกับโปรตีนขนส่งชื่อ importin alpha (IMPα) และ importin beta (IMPβ) nuclear transport proteins ของเซลล์เจ้าบ้าน (host cell) พร้อมยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ของเซลล์เจ้าบ้านในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม
นอกจากนี้ ยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) ยังช่วยลดกระบวนการอักเสบผ่านการลดการแสดงออกของยีนไซโตไคน์ (cytokine genes) ที่สำคัญ 2 ชนิดคือ tumor necrosis factor-alpha (TNF-α) และ interleukin-6 (IL-6) ซึ่งเป็นไซโตไคน์ที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งไซโตไคน์อื่นหลายชนิดเข้าสู่กระแสเลือดพร้อมกันในปริมาณมากจนเกิดภาวะพายุไซโตไคน์ (cytokine storm) ทำให้เนื้อเยื่อเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้
สำหรับผลการศึกษาในมนุษย์มีกลุ่มแพทย์นานาชาติที่เห็นประโยชน์ของยา ไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) จึงได้รวบรวมผลการศึกษาวิจัยทั่วโลกเกี่ยวกับการใช้ยา ไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรอง พบข้อมูลที่มีผลออกมาอย่างน่าพอใจว่า ยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) มีประสิทธิผลดีทั้งในการป้องกันและในการรักษาผู้ป่วยที่เริ่มแสดงอาการจากการติดเชื้อ
สำหรับในประเทศไทย ยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) มีการขึ้นทะเบียนอยู่ 2 รูปแบบ คือ ทะเบียนตำรับยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ และยาทะเบียนตำรับสำหรับสัตว์ การนำยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) มาใช้นั้น จะต้องเป็นแบบที่ใช้รักษาในคนเท่านั้น อย่างไรก็ตามการหาซื้อรับประทานเองนั้น ยังคงต้องระมัดระวังและอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
https://www.pharmacy.cmu.ac.th/makok.php?id=211
https://tna.mcot.net/sureandshare-728309
https://www.isranews.org/article/isranews-article/100129-cov-t.html